เทศกาลคเณศจตุรถี(บูชาพระพิฆเนศ)

คเณศจตุรถี วันเกิดพระพิฆเนศ

เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ จะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬาร เพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่องค์เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่างๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปนับร้อยนับพันองค์ ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี ฯลฯ แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล

เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่างๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ
"เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน (อ่านเรื่องการบูชาด้วยใบไม้ได้จากหน้าแรก)

ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.2538 มีเหตุการณ์ที่ฮือฮากันมากที่สุดก็คือ ปรากฏการณ์ที่เทวรูปดื่มนมสดก็ปรากฏขึ้นมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยซึ่งตรงกับเทศกาลประกอบพิธี คเณศจตุรถี หรือพิธีอุทิศต่อพระคเณศพอดีทำให้ปรากฏการดังกล่าวได้รับความสนใจไปทั่วโลก หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ผู้คนแตกตื่นพากันไปดูเทวรูปดื่มน้ำนมกันแพร่หลาย

ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาทำสักการะบูชารูปเคารพของพระคเณศที่ปั้นด้วยดิน (เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด,) ขนมต้ม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว,(แบบแขก) ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่อง พระนาม 108 ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ และมีข้อห้ามในวันพิธีคเณศจตุรถีนี้คือ ห้ามมองพระจันทร์อย่างเด็ดขาด และถือกันว่าถ้าผู้ใดได้มองพระจันทร์ (เห็นพระจันทร์) โดยพลาดพลั้งเผลอเรอไป พวกชาวบ้านก็จะพากันแช่งด่าผู้นั้นทันที่ และที่ชาวบ้านด่านั้น ก็เป็นความหวังดี มิได้ด่าด้วยความโกรธแค้น แต่ด่าเพราะเชื่อกันว่าการด่าการแช่งนั้นจะทำให้คนๆนั้นพ้นจากคำสาปไปได้
ซึ่งความเชื่อนี้ มีเรื่องเล่าที่มาอยู่ 2 เรื่อง...คือสืบเนื่องมาจากการที่พระคเณศพลัดตกจากหลังหนูจนท้องแตก (เพราะหนูตกใจที่มีงูเห่าเลื้อยผ่านหน้า และพระคเณศเสวยขนมต้มมามาก) ขนมต้มทะลักออกมาพระคเณศ ก็รีบเก็บขนมต้มยัดกลับไปในพุง และจับงูเห่าตัวนั้นมารัดพุงขณะเดียวกันพระจันทร์ ก็เผอิญมาเห็นเข้าก็อดขำไม่ได้หัวเราะออกมาดังสนั่นพระคเณศโกรธยิ่งนัก เอางาขว้างไปติดพระจันทร์จนแน่น ทำให้โลกมืดลงทันที่ เพราะไฟดับ (เหมือนราหูอมจันทร์)พระอินทร์และทวยเทพทั้งหลายทราบเรื่อง ก็ต้องพากันไปอ้อนวอน พระคเณศจึงยอมถอยเอางาออก แต่พระจันทร์ก็ต้องได้รับโทษอยู่คือ จะต้องเว้าๆแหว่งๆเป็นเสี้ยวๆไม่เต็มดวงทุกคืน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ จึงจะเต็มดวง

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระคเณศสาปคนที่มองดูพระจันทร์ในวันที่บูชาพระองค์คือ หากใครมองดูพระจันทร์ในวันนี้ ผู้นั้นก็จะต้องกลายเป็นคนจัณฑาล และคนจัณฑาลในสังคมอินเดียจะเป็นที่รังเกียจของคนวรรณะอื่นๆทุกๆวรรณะ (เพราะถือว่าคนจัณฑาล ไม่มีชนชั้น เป็นชนชั้นต่ำ ) ดังนั้นคำสาปให้เป็นจัณฑาลจึงเป็นโทษร้ายแรงยิ่งนัก

 

วิธีการไหว้คเณศจัตุรถี (แบบพิธีเต็ม)

 1. ทำความสะอาดที่นั่งและสถานที่ประกอบพิธี

     ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมหิธานุภาพยิ่งใหญ่ พระองค์คือเจ้าของในทุกสรรพสิ่งบัดนี้ขอพระองค์ได้ทรงโปรดจัดให้อาสนะและมณทลพิธีแห่งนี้ จงสะอาด บริสุทธิ์ เพื่อประกอบยัญพิธี อุทิศถวายแด่พระองค์ด้วยเทอญ

*แบ่งน้ำคงคาในชุดคเณศจัตุรถีเพียงเล็กน้อยผสมน้ำเปล่าในภาชนะที่เตรียมไว้และนำมือของเราจับน้ำแล้วพรมไปเบื้องหน้าเบื้องหลังด้านขวาและด้านซ้ายและด้านบนด้านล่าง (ทิศทั้ง6) รวมถึงสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีทั้งหมด รวมถึงชุดไหว้

*เตรียมชุดบูชาและของไหว้ที่ได้เตรียมไว้ จัดถวายบนหิ้งบูชาทั้งหมด (สามารถถวายกระเป๋าส่วนตัวเครื่องประดับส่วนตัวและเงินสดอื่นๆได้)

 

2.บูชาพระพิฆเนศและคุรุ(พิธีชยานะ)คือ การทำสมาธิระลึกถึงเทวะ)

     จับดอกไม้ขึ้นมา 1 ดอก (ดอกอะไรก็ได้) ทุกครั้งไม่ว่าจะทำบวงสรวงต่อเทพองค์ใดก็ตามจะต้องกล่าวบูชาต่อพระคเณศและพระวิษณุเทพ ก่อนทุกครั้งข้าพเจ้า(บอกชื่อ-นามสกุล,วันเดือนปีเกิด)จะกระทำพิธีบูชาองค์พระพิฆเนศและเทพพรมทุกๆพระองค์ในพิธีคเณศจัตุรถีขอพระองค์ทรงโปรดพระเมตตาประทานบันดานให้กิจพิธีกรรมในวันนี้จงสัมฤทธิ์ผลด้วยดีปราศจากอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงและข้าพเจ้าขอน้อมสักการะต่อพระวิษณุมหาเทพผู้ควบคุมคัมภีร์และโยคะกรรมทั้งหลายข้าพเจ้าขอน้อมสักการะพระองค์(นำดอกไม้ที่ถือวางลงตรงเท้าเทวรูปพระพิฆเนศ)เขย่ากระดิ่ง,เป่าสังข์หากมี

 

3.ถวายน้ำปัจอัมฤทธิ์ ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่

3.1.น้ำคงคา 3.2.น้ำมันเนย 3.3.น้ำผึ้ง 3.4.น้ำนม 3.5.โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว

ท่องบทสวด โอมศรีคเณศายะนะมะฮา (9 รอบ)

ข้าแต่พระศิวะบุตรพระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระแม่อุมาเทวี ข้าพเจ้าได้จัดหาน้ำปัจอัมฤทธิ์ทั้ง 5 ชนิดเพื่อนำมา ชำระล้าง

พระบาท ของพระองค์

*ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงรัศมีเปล่งปลั่งไปด้วยความดีงาม ในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ข้าพเจ้า ขอน้อมถวายน้ำล้างพระหัตถ์

*ข้าแต่พระองค์ผู้พอพระทัยในคำสรรเสริญของผู้ศรัทธาในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ข้าพเจ้า ขอน้อมถวายน้ำล้างพระโอษฐ์

*ข้าแต่องค์พระพิฆเนศผู้มีพระวรกายสว่างสไวดุจพระอาทิตย์นับโกฏิวงข้าพเข้า ขอถวายน้ำสรงสนานนี้แด่พระองค์

*ข้าแต่องค์พระพิฆเนศข้าพเจ้า ขอถวายวัตถาพรอันประเสริฐนี้แด่พระองค์

*ข้าพแต่องค์พระพิฆเนศข้าพเจ้า ขอถายเครื่องหอมแด่พระองค์

*ข้าแต่องค์พระพิฆเนศข้าพเจ้า ขอถวายเครื่องถนิมพิมพาภรณ์อันห่าค่ามิได้แด่พระองค์

*ข้าพแต่อคพระพิฆเนศข้าพเจ้า ขอถวายดอกไม้,พวงมาลัยแพระองค์

โอมศานติ ศานติ ศานติ

 

4.พิธี(การถวายไฟ) คือการบูชาอันสูงสุด

โอม วักกระตุณดะ มหากายา

สุริยาโกติ สมาปราภา / นิรวิกนัม คุรุเมเดวา

สารวการเยสุ สารวาดา

โอม กัง กันนะปัตเย นะโมนะมะห์

ศรี สิทธิวินายัก นะโมนะมะห์

อัสตะ วินายัก นะโมนะมะห์

กันนะปติ บัปปา โมรายา

 

ข้าพเจ้าขอทำการบูชาพระองค์ด้วยความศรัทธาอันสูงสุดด้วยใจรักและศรัทธาต่อพระองค์ขอพระองค์เสด็จมารับเครื่องบูชาและอวยพรอันสูงสุดของพระองค์แด่ข้าพเข้าและครอบครัวให้มีความสุขกายสุขใจสุขภาพแข็งแรงร่ำรวยมีแต่ความสเร็จไร้อุปสรรคทั้งปวง (ขอพรเพิ่มเติมได้เลย) โอมศานติ ศานติ ศานติ

*พิธีการและของถวายในเทศกาลคเณศจัตุรถี จะถวายและสวดเฉพาะวันแรกเท่านั้น

*หลังจากทำตามวิธีเสร็จหลังจากนั้น 30 นาทีสามารถลาของไหว้และเคร่องบูชาได้เลย

*ครั้งถัดไปให้ไหว้ขอพรตามปกติโดยใช้บท โอมศรีคเณศายะนะมะฮา

*ให้ไหว้ขอพรติดต่อกัน 10 วัน (หากไม่สะดวกให้ละลึกถึงในใจและขอพร)

ชุดบูชาพระพิฆเนศ

  • ใหม่ล่าสุด
    จัตุรถีชุด C
    299.00 ฿
  • ใหม่ล่าสุด
    จัตุรถีชุด B
    499.00 ฿
  • ใหม่ล่าสุด
    จัตุรถีชุด A
    999.00 ฿
  • ใหม่ล่าสุด
    ชุดฝากไหว้จัตุรถี
    299.00 ฿

คเณศจตุรถี 2565 คเณศเทวา

 

คเณศจตุรถี 2563 คเณศเทวา

คเณศจตุรถี 2562 คเณศเทวา

 

 

คเณศจตุรถี 2561 คเณศเทวา